ญี่ปุ่นดึงหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานมนุษย์

ความอัตโนมัติช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานได้จริงหรือ ?

ไม่ว่าจะทำอะไรงานกีฬา การใช้ชีวิต ร้านค้า หรือร้านอาหาร ญี่ปุ่นก็มักชูความโดดเด่นและไอเดียเจ๋ง ๆ ออกมาให้คนทั่วโลกได้เห็นอยู่เสมอ แต่ที่เห็นความเด่นมาแต่ไกลแล้วทำให้คนอยากลองไปเห็นด้วยตาและใช้งานด้วยตัวเองดูสักครั้ง ก็คงเป็นความ ‘อัตโนมัติ’ ของญี่ปุ่น ที่ไม่ว่าเราจะเดินทางไปที่ไหน หรือทำอะไรก็มักจะได้เห็นความอัตโนมัติแฝงอยู่แทบทุกที่

และความอัตโนมัติอย่างหนึ่งที่ล้ำหน้ามาก ๆ นั่นคือการสร้างหุ่นยนต์ ที่ญี่ปุ่นไม่ได้สร้างขึ้นมาเพราะว่ามันเท่หรือสร้างมาไว้เป็นสิ่งประดับบารมี แต่เขาสร้างขึ้นมาเพื่อเน้นการใช้งาน ทำงานได้จริง แถมยังมีความคิดที่อยากจะให้หุ่นยนต์ทำหน้าที่แทนแรงงานมนุษย์อีกด้วยนะ

ความอัตโนมัติช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานได้จริงหรือ ?
ความอัตโนมัติช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานได้จริงหรือ ?

ญี่ปุ่นยังคงทำตามเป้าหมาย Society 5.0 เพื่อแก้ปัญหาสังคม

ฟังไปแล้วดูเหมือนจะโอเว่อร์ไปสักนิด แต่ญี่ปุ่นมีความคิดที่อยากให้หุ่นยนต์ทำงานได้เหมือนมนุษย์จริง ๆ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งที่นอกเหนือจากความสะดวกและรวดเร็วนั้น คือปัจจุบันญี่ปุ่นได้ประสบกับปัญหาจำนวนประชากรที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและปัญหาสังคมสูงวัย นั่นเลยทำให้ปัญหาใหญ่ที่ตามมาคือ ปัญหาขาดแคลนแรงงาน

ดังนั้นคงไม่ใช่เรื่องผิดที่รัฐบาลญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ที่สำคัญเรื่องนี้มันยังไปสอดคล้องกับพิมพ์เขียว Society 5.0 ที่มีเป้าหมายเพื่อมุ่งเข้าสู่สังคมดิจิทัลอย่างเต็มตัวและแก้ไขปัญหาสังคมได้ด้วยการนำโลกไซเบอร์ (พื้นที่เสมือนจริง) และพื้นที่ทางกายภาพ (พื้นที่จริง) เข้าด้วยกันผ่านเทคโนโลยีขั้นสูงที่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ เน้นย้ำมาโดยตลอด

นอกจากนี้หนึ่งในสาเหตุที่ญี่ปุ่นมุ่งมั่นสร้างสรรค์หุ่นยนต์ เป็นเพราะต้องการให้ญี่ปุ่นลดและหลีกเลี่ยงการนำเข้าแรงงานต่างชาติ แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนญี่ปุ่นเรียนรู้คือ หุ่นยนต์จะสามารถได้แต่งานง่ายและขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน อีกทั้งหุ่นยนต์ที่มาพร้อมคุณสมบัติที่ครบถ้วนยังมีราคาต้นทุนที่สูงกว่าการใช้แรงงานมนุษย์ด้วย

ญี่ปุ่นยังคงทำตามเป้าหมาย Society 5.0 เพื่อแก้ปัญหาสังคม
ญี่ปุ่นยังคงทำตามเป้าหมาย Society 5.0 เพื่อแก้ปัญหาสังคม

แต่หุ่นยนต์มาพร้อมจุดอ่อน ที่เทียบกับแรงงานมนุษย์ได้ยาก

ซึ่งความท้าทายใหญ่ของการสร้างหุ่นยนต์ญี่ปุ่นคือการสร้างให้หุ่นยนต์สามารถทำงานได้เทียบเท่ากับมาตรฐานของมนุษย์ ยกตัวอย่างงานที่ง่าย ๆ สำหรับมนุษย์อย่างการปอกเปลือกมันฝรั่ง แต่เมื่อต้องทำในโรงงานใหญ่ ๆ กลับเป็นเรื่องที่มีความซ้ำซากและใช้เวลาทำนาน หลาย ๆ โรงงานจึงได้เริ่มต้นใช้งานหุ่นยนต์ปลอกเปลือกมันฝรั่ง ซึ่งมันก็ได้ความไวกว่าจริง ๆ

แต่ทั้งนี้กลับพบปัญหาว่าระบบเซนเซอร์ของหุ่นยนต์ยังไวไม่พอ เมื่อเทียบกับพลังงานมือของมนุษย์ที่สามารถปอกได้ทุกทิศทาง เก็บรายละเอียดได้ดีกว่า แต่หุ่นยนต์สามารถหมุนได้แค่ทิศทางเดียว ที่สำคัญยังไม่มีระบบเซนเซอร์ที่ไว้สแกนหน่อมีพิษออกอีกด้วย

แต่หุ่นยนต์มาพร้อมจุดอ่อน ที่เทียบกับแรงงานมนุษย์ได้ยาก
แต่หุ่นยนต์มาพร้อมจุดอ่อน ที่เทียบกับแรงงานมนุษย์ได้ยาก

อีกตัวอย่างที่เคยมีข่าวใหญ่ออกมาว่าทางใต้ของญี่ปุ่นได้สร้างหุ่นยนต์เป็นพนักงานต้อนรับ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จจนท้ายที่สุดก็ต้องมีการเลิกจ้างพนักงานต้อนรับหุ่นยนต์ เนื่องจากเกิดข้อเรียกร้องจากกลุ่มลูกค้าว่าพวกเขาไม่ได้รับการต้อนรับที่ดีเหมือนกับพนักงานที่เป็นมนุษย์นั่นเอง

ซึ่งประเด็นเรื่องการนำหุ่นยนต์มาเป็นแรงงานนั้น ในชาติตะวันมีความเห็นว่าระบบหุ่นยนต์เป็นภัยคุกคามที่อาจส่งผลต่อความวุ่นวาย แต่สำหรับญี่ปุ่นกลับมองว่าหุ่นยนต์เป็นตัวช่วยของแรงงานและมีความเป็นมิตรมากกว่ามนุษย์จริง ๆ ซะอีก แถมยังคิดจะจัดทำรถยนต์ระบบอัตโนมัติด้วย แต่เรื่องนี้ก็ยังคงต้องมีการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจว่ายานพาหนะดังกล่าวจะทนทานต่ออุปสรรคบนท้องถนนได้หรือไม่ หากสำเร็จจริง ๆ ในอนาคตอาจจะมี ประกันรถยนต์ชั้น 1 สำหรับรถอัตโนมัติก็ได้

ในอนาคตญี่ปุ่นอาจยอมรับรถยนต์อัตโนมัติ
ในอนาคตญี่ปุ่นอาจยอมรับรถยนต์อัตโนมัติ

ถึงอย่างไรในตอนนี้รัฐบาลญี่ปุ่นก็ยังมีการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในช่วงเวลาสั้น ๆ ผ่านการออกวีซ่าให้กับแรงงานต่างชาติ แต่ระยะยาวก็ยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาหุ่นยนต์อย่างต่อเนื่อง เพื่อหวังให้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอนาคต

ปฏิเสธไม่ได้เลยล่ะว่าหุ่นยนต์เป็นตัวแทนของสังคมที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ทั้งนี้หลาย ๆ คนก็เกิดคำถามว่าหากวันหนึ่งการทำงานของหุ่นยนต์ประสบความสำเร็จมากจริง ๆ ทำงานซับซ้อนได้ รวดเร็ว สะดวก ทำงานได้ทุกระบบ และมีต้นทุนที่ถูกกว่า เมื่อถึงเวลานั้นแรงงานมนุษย์จะต้องไปอยู่ตรงไหน?

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *